เมนู

พระลักษณะของพระเจ้ามิลินท์นั้น ปรากฏตามมิลินทปัญหาว่าประกอบด้วยพระ
พลังทางกาย พระพลังทางความคิด ด้วยความกล้าหาญ ด้วยปัญญา พระเจ้ามิลินท์นั้น ทรงมั่งคั่ง
บริบูรณ์ด้วยราชสมบัติ, มีพระราชทรัพย์และเครื่องราชูปโภคเป็นอันมากพ้นที่จะนับคณนา มี
พลพาหนะหาที่สุดมิได้ (1)
สำหรับประวัติของนาคเสนนั้น มิลินทปัญหาฉบับภาษาจีน กล่าวว่า มาตุภูมิของ
พระนาคเสน คือ แคว้นแคชเมียร์ (Kashmir) ซึ่งเป็นศูนย์กลางนิกายสรวาสติวาท ส่วนฉบับ
ภาษาบาลีกล่าวว่า ท่านเกิดที่เมืองคะชังคละ ซึ่งเป็นเมืองทางการค้าขาย ทางชายแดนตอนเหนือ
ของมัชฌิมประเทศ พระนาคเสนนั้นปรากฏว่า เป็นผู้ฉลาดสามารถเป็นนักพูดและคงแก่เรียน
เป็นคลังแห่งข้ออุปมาที่สามารถนำเอามาใช้ได้ตามต้องการ และมีความสามารถอย่างไม่น่าเชื่อ
ก็คือ สามารถเรียนพระอภิธรรมได้อย่างเชี่ยวชาญ โดยการฟังอธิบายของอาจารย์เพียงครั้ง
เดียวเท่านั้น ในชินกาลมาลีปกรณ์ กล่าวถึงพระนาคเสนว่า เป็นผู้ดำริสร้างพระพุทธปฏิมาขึ้น
องค์หนึ่ง และสำเร็จลงด้วยอำนาจของเทพดา และอิทธิฤทธิ์ของพระแก้วมรกต และกล่าวถึง
พระธัมมรักขิต อาจารย์ของพระนาคเสนว่า อยู่ที่ปุปผวดี ในเมืองปาฏลีบุตร ในอรรถกถา
ืทีฆนิกายและอรรถกถาอังคุตตรนิกาย ก็ปรากฏชื่อของอัสสคุตตเถระด้วยและได้รับยกย่อง
ให้เป็นตัวอย่างของกัลยาณมิตร ด้วย (2)
ส่วนนายเบอร์นอฟ (Burnouf) ได้อ้างหลักฐานทางธิเบตกล่าวว่า พระนาคเสนองค์นี้
คือ องค์เดียวกับพระนาคเสนที่ทำให้เกิดมีการแยกนิกายต่างๆ ออกไปเมื่อ 137 ปี หลัง
พุทธปรินิพพาน โดยอ้างว่า พระนาคเสนได้แสดงความคิดเห็นอภิธรรมโกสะ วยาขยาอันเป็น
คัมภีร์สำคัญคัมภีรหนึ่งไว้อย่างยืดยาว ส่วนศาสตราจารย์ เคิร์น (Kern) แห่งลีเด็น (Lieden)นั้น
ไม่เชื่อว่า พระนาคเสนจะเป็นบุคคลที่มีตัวตนอยู่จริง และไม่เชื่อแม้กระทั่งว่า ในพระพุทธศาสนา
จะมีพระภิกษุที่มีชื่ออย่างนี้อยู่ด้วย เขาเชื่อว่า พระนาคเสนนั้นเป็นเช่นเดียวกับ ปตัญชลีฤๅษี ผู้
รจนาคัมภีร์ปรัชญาฝ่ายโยคะ ซึ่งไม่มีตัวตนอยู่จริง ทั้งยังมีสมญานามอื่น ๆ อีกด้วย คือ นาเคศะ
และผณิน แต่ศาสตราจารย์ ริส เดวิดส์ ไม่เห็นด้วยกับความเห็นของทั้งสองท่านดังกล่าวมานี้ (3)
มิลินทปัญหา ฉบับภาษาบาลีนั้น เท่าที่ปรากฏอยู่ในบัดนี้ก็มีฉบับอักษรสิงหล อักษร
โรมัน อักษรไทย อักษรพม่า และอักษรขอม หรือเขมร ฉบับหลัง ๆ นี้ก็เชื่อแน่ว่าได้มาจาก

(1) มิลินทปัญหา ฉบับแปลในมหามกุฏ ฯ หน้า 5
(2) Milinda's Questions, Vol. 1 p. xxvii
(3) Sacred Book of the East Vol. xxxv, p. xxvi"